เมนู

10. อวกุชชิตสูตร



ว่าด้วยผู้มีปัญญา 3 จำพวก



[469] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร คือ บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ บุคคลปัญญาดังหน้าตัก บุคคล
ปัญญามาก

บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้นไม่ใส่ใจถึง
เบื้องต้น ... ท่ามกลาง ... ที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้นเลย แม้ลุกไปจาก
ที่นั่งนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึง... เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ น้ำที่บุคคลราดลงไป
บนหม้อนั้น ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อ
ฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ก็ไม่ใส่ใจถึง ... ฉันนั้น นี่ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ
ก็บุคคลปัญญาดังหน้าตักเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้ง
เบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ลุกจากที่นั่งนั้น
แล้วไม่ใส่ใจ ... เปรียบเหมือนของเคี้ยวต่าง ๆ วางรายอยู่บนหน้าตักของคน
เช่น งา ข้าวสาร แป้ง พุทรา คนนั้นเผลอตัวลุกขึ้นจากที่นั่งนั้น ( ของ

เคี้ยวนั้น) ก็ตกเกลื่อนไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรม
ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ลุกจากที่นั่งนั้น แล้วไม่ใส่ใจ ... ฉันนั้น
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหน้าตัก
ก็แล บุคคลปัญญามากเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อ
ฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้ง
เบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น แม้ลุกไปจาก
ที่นั่งนั้นแล้ว ก็ใส่ใจไว้ทั้งเบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม)
กถานั้น เปรียบเหมือนหม้อหงาย น้ำที่บุคคลเทลงไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่
ไม่ไหลไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ฉันนั้น นี่ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญามาก
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก.
คนปัญญาดังหม้อคว่ำ โง่ ทึบ แม้
หากไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลาย
เนือง ๆ คนชนิดนั้น ก็ไม่อาจเรียนเอา
เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง (ธรรม)
กถาได้ เพราะปัญญาของเขาไม่มี.
คนปัญญาดังหน้าตัก เรากล่าวว่า
ดีกว่าคนปัญญาดังหม้อคว่ำนั่น ถ้าแม้ไป
(ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ
คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะ
ได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง

(ธรรม) กถานั้น ลุกไปแล้วไม่รู้ เพราะ
ความจำของเขาฟั่นเฟือน.
ส่วนบุคคลปัญญามาก เรากล่าวว่า
ดีกว่าคนปัญญาดังหน้าตักนั่น ถ้าแม้ไป
(ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ
คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะ
ได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง
(ธรรม) กถาแล้วทรงจำไว้ได้ เป็นคนมี
ความคิดประเสริฐ มีใจไม่เคลือบแคลง
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงกระทำ
ที่สุดทุกข์ได้.

จบอวกุชชิตสูตรที่ 10
จบปุคคลวรรคที่ 3


อรรถกถาอวกุชชิตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอวกุชชิตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวกุชฺชปญฺโญฺ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับหม้อคว่ำปากลง.
บทว่า อุจฺฉงฺคปญฺโญ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับตัก. บทว่า ปุถุปญฺโญ
ได้แก่ มีปัญญากว้างขวาง.
ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การ